นาฬิกา ปฎิทิน

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

Questionnaire1

LinkFinal1

FinalDetail1

          บีกเกอร์ เป็นแก้วใส ใช้สำหรับบรรจุสารที่มีปริมาณมาก เพื่อละลายสารหรือทำปฏิกิริยาเคมี และสามารถเทสารออกได้ง่ายทางปากบีกเกอร์ โดยจะมีขีดบอกปริมาตรซึ่งเป็นค่าโดยประมาณเท่านั้น

      กระบอกตวง กระบอกตวงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรของเหลวที่มีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนถึง 2 ลิตร กระบอกตวงขนาดเล็กจะวัดปริมาตรได้เที่ยงตรงมากกว่าขนาดใหญ่ การใช้กระบอกตวงต้องคำนึงถึงขนาดของกระบอกตวงและปริมาตรของของเหลวที่จะวัด การอ่านปริมาตรต้องให้ตาอยู่ในระดับเดียวกับขีดปริมาตรและส่วนโค้งต่ำสุดของของเหลว เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างให้สะอาด และเก็บตั้งไว้ในตู้เฉพาะ แต่ถ้ากระบอกตวงมีขนาดสูงมาก ควรวางนอนกับพื้นตู้เพื่อกันล้มแตก
วิธีอ่านปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงนั้นสามารถทำได้โดยการยกกระบอกตวงให้ตั้งตรงและให้ท้องน้ำอยู่ในระดับสายตา และอ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของท้องน้ำ
      

      กระบอกตวง กระบอกตวงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรของเหลวที่มีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนถึง 2 ลิตร กระบอกตวงขนาดเล็กจะวัดปริมาตรได้เที่ยงตรงมากกว่าขนาดใหญ่ การใช้กระบอกตวงต้องคำนึงถึงขนาดของกระบอกตวงและปริมาตรของของเหลวที่จะวัด การอ่านปริมาตรต้องให้ตาอยู่ในระดับเดียวกับขีดปริมาตรและส่วนโค้งต่ำสุดของของเหลว เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างให้สะอาด และเก็บตั้งไว้ในตู้เฉพาะ แต่ถ้ากระบอกตวงมีขนาดสูงมาก ควรวางนอนกับพื้นตู้เพื่อกันล้มแตก
วิธีอ่านปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงนั้นสามารถทำได้โดยการยกกระบอกตวงให้ตั้งตรงและให้ท้องน้ำอยู่ในระดับสายตา และอ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของท้องน้ำ

           บิวเรท เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรต่างๆ และมีก็อกสำหรับเปิด-ปิด เพื่อบังคับการไหลของของเหลว บิวเรทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีขนาดตั้งแต่ 10 มล. จนถึง 100 มล. บิวเรทสามารถวัดปริมาตรได้อย่างใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่ก็ยังมีความผิดพลาดอยู่เล็กน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของบิวเรท 


 ปิเปตต์ (pipette) ใช้สำหรับตวง หรือวัดปริมาตรของสารละลายให้ได้ปริมารตรที่แน่นอน มีความถูกต้องสูง มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ measuring pipette และ volumetric pipette สังเกตได้ง่ายๆ หากเป็นแบบ volumetric pipette จะมีแก้วป่องบริเวณตรงกลางปิเปตต์ ซึ่งความถูกต้องจะมี
        ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า conical flask ทำด้วยแก้ว มีหลายขนาดตั้งแต่  5 มิลลิลิตร ถึง 1000 มิลลิลิตร ใช้สำหรับใส่สารละลายในการทดลองไทเทรตชั่น (titration) โดยสารละลายที่ใช้ในขวดรูปชมพู่จะเรียกว่าไทแทรนด์ (titrand) ใช้คู่กับอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งคือบิวเรตต์ (burette) สารละลายที่บรรจุในบิวเรตต์จะเรียกว่าไทแทนท์ (titrant)


กรวยกรองแก้ว (glass funnel) ใช้ในการถ่ายเทสารเคมีจากภาชนะที่มีขนาดใหญ่ ลงในภาชนะที่มีขนาดเล็ก เช่น ต้องการบรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก(HCl) ลงในบิวเรตต์ โดยการค่อยๆ เทสารละลายจากบีกเกอร์ที่มีกรดไฮโดรคลอริกอยู่ ผ่านกรวยกรองแก้ว ลงในบิวเรตต์ หรือใช้สำหรับกรอง แยกสารที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายออกจากสารละลายโดยใช้กระดาษกรองวางภายในกรวยกรอง ค่อยๆ รินสารผสมผ่านกรวยกรองที่มีกระดาษกรองอยู่ ซึงของแข็งจะติดอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนสารละลายจะผ่านกระดาษกรองออกมา

กรวยแยก (separatory funnel) ใช้สำหรับสกัดสารด้วยของเหลวออกจากของเหลว (liquid-liquid extractions) ซึ่งส่วนประกอบของสารผสมจะถูกแยกด้วยทำละลาย 2 ชนิดที่ไม่ผสมกัน (2 เฟส) โดยทั่วไปเฟสหนึ่งจะเป็นตัวทำละลายที่มีขั้ว และอีกเฟสหนึ่งจะเป็นตัวทำละลายอินทรีย์(ไม่มีขั้ว)


      หลอดทดลอง
-หลอดทดลองมีหลายชนิดและหลายขนาด ชนิดที่มีปากและไม่มีปาก ชนิดธรรมดาและชนิดทนไฟ ขนาดของหลอดทดลองระบุได้ 2 แบบคือ ความยาวกับเส้นผ่าศูนย์กลางริมนอกหรือขนาดความจุเป็นลิตร
   -หลอดทดลองส่วนมากใช้สำหรับทดลองปฎิกิริยาเคมีระหว่าง สารต่างๆที่เป็นสารละลาย ใช้ต้มของเหลวที่มีปริมาณน้อยๆ โดยมี test tube holder จับกันร้อน
   หลอดทดลองแบบทนไฟจะมีขนาดใหญ่และหนากว่าหลอดธรรมดา ใช้สำหรับเผาสารต่างๆด้วยเปลวไฟโดยตรงในอุณหภูมิที่สูง หลอดชนิดนี้ไม่ควรใช้สำหรับทดลองปฎิกิริยาเคมระหว่างสารเหมือนหลอดธรรมดา
ขวดดูดแลน เป็นขวดสำหรับใช้งานทั่วไปในห้องทดลอง

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


พระราชลัญจกร





พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 



ตราประจำรัชกาลที่ 9

"พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์" เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๖.๗ ซ.ม.

รูปพระที่นั่งอัฎทิศ ประกอบด้วยวงจักร  กลางวงจักรมีอักขระ "อุ" รอบๆ มีรัศมี
(วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ)
แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน




พิธีรับตราพระราชลัญจกร เป็นพิธีที่ทำให้รู้ว่าเราเป็นเด็กมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอย่างเต็มตัว 
เป็นลูกของเจ้าพ่อมันปลา เป็นนักศึกษาราชภัฏ เป็นคนของพระราชา





วิธีทำทองหยอด




วิธีทำ ขนมไทย






รูปขนมไทย






















ขนมไทย



ประวัติขนมไทย
       
            คนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่า "ขนม" ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร หรือกินเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะปรุงจาก แป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาลเชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยม กันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า "ท้าวทองกีบม้า" ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า "มารี กีมาร์ เด ปนา" มารีกีมาร์แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการ ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำงานดีจนเป็นที่โปรดปราน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ตำแหน่งนี้ทำให้ ฟอลคอนร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหรา แต่ด้วยความคิดมิชอบฟอลคอลที่ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับให้ยึดสยามเป็นอาณานิคม จึงถูกจับในข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และ ถูกประหารชีวิต มารีต้องถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง ๒ปี  แต่หลังการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวังทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆ ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา จากตำรับเดิมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็น ชาติกำเนิดของเธอ ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัสดุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสาน จนทำให้เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมาย เมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ได้รับความชื่นชมมาก ถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้เสวย  ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยกย่องชื่นชม มีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีเมตตา ทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆ ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอจนเกิดความชำนาญ และสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องยังบ้านเกิดของตนก็ได้นำตำรับขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็กลายเป็น ขนมพื้นบ้านของไทย

ขนมไทยมงคล

        ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ซึ่งหมายถึงกงเกวียนที่หมุนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับพระธรรมจักร ความหมายที่ต้องการสื่อถึงงานแต่งงานก็คือ ต้องการให้คู่บ่าวสาวรักและครองคู่อยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร์  
        ขนมสามเกลอ ซึ่งเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคี และไม่มีวันพรากจากกัน โดยใช้เป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ลักษณะของขนมสามเกลอเป็นลูกกลมๆ เรียงกัน 3 ลูกแบบก้อนเส้า การเสี่ยงทายจะดูกันตอนทอด กล่าวคือ ถ้าทอดแล้วยังอยู่ติดกัน 3 ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน ถ้าทอดแล้วติดกัน 2 ลูกแสดงว่าจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าหลุดจากกันหมด ไม่ติดกันเลย แสดงว่าชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืนหรือชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข อีกนัยหนึ่งถ้าทอดขนมสามเกลอแล้วพองฟูขึ้นจะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมกับราวกิ่งทองกับใบหยก แต่ถ้าทอดแล้วด้าน ไม่พองฟู ก็ถือว่าใช้ไม่ได้  

        ขนมทองหยิบ ทองหยอด ทองพลู ทองโปร่ง ทองม้วน ทองเอก เป็นขนมมงคล เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น และทำให้นึกถึงความร่ำรวย เพราะไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แถมยังมีเงิน มีทองใช้ไม่รู้จักหมดสิ้น โดยเฉพาะขนมทองเอกจะแสดงถึงความเป็นหนึ่งและเป็นที่สุด 
      
         ขนมเม็ดขนุน ในงานมงคลต่างๆ ให้ความหมายว่า ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน ค้ำจุ  ละในงานแต่งงานจะแทนคำอวยพรว่าจะทำอะไรก็มีแต่คนคอยสนับสนุน ค้ำจุน ให้เจริญก้าวหน้า 

         ขนมข้าวเหนียวแก้ว หากมีขนมนี้ใช้ในงานมงคลใดๆ ชีวิตก็จะมีความเหนียวแน่น เป็นปึกแผ่น 

         ขนมฝอยทอง หากใช้ในงานแต่งงาน ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดให้สั้นต้องปล่อยให้ยืดยาวอย่างนั้น เพราะคู่บ่าวสาวจะได้รักกันยืนยาวและครองคู่อยู่ด้วยกันตลอดไป 

         ขนมจ่ามงกุฎ นิยมทำกันในงานฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่ง เป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป ส่วนในงานแต่งงาน จะแทนคำอวยพรให้เจริญก้าวหน้า เพียบพร้อมด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ 

         ขนมเทียนหรือขนมนมสาว ให้ความหมายถึงความสว่างไสว ความรุ่งโรจน์ของชีวิต

         ขนมถ้วยฟู ขนมปุยฝ้าย มีความหมายว่าความรุ่งเรืองความเฟื่องฟูของชีวิต 

         ขนมโพรงแสม เป็นขนมแต่งงานที่เก่าแก่และมีมานานชนิดหนึ่ง โบราณท่านเปรียบขนมนี้ว่า    เสมือนเสาบ้านที่คูบ่าวสาวจะอยู่กันได้ยั่งยืนตลอดไป

         ขนมเสน่ห์จันทร์ มีความหมายว่าจะทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ มีแต่คนรักใคร่