บีกเกอร์ เป็นแก้วใส ใช้สำหรับบรรจุสารที่มีปริมาณมาก
เพื่อละลายสารหรือทำปฏิกิริยาเคมี และสามารถเทสารออกได้ง่ายทางปากบีกเกอร์
โดยจะมีขีดบอกปริมาตรซึ่งเป็นค่าโดยประมาณเท่านั้น
กระบอกตวง กระบอกตวงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรของเหลวที่มีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนถึง 2 ลิตร กระบอกตวงขนาดเล็กจะวัดปริมาตรได้เที่ยงตรงมากกว่าขนาดใหญ่ การใช้กระบอกตวงต้องคำนึงถึงขนาดของกระบอกตวงและปริมาตรของของเหลวที่จะวัด การอ่านปริมาตรต้องให้ตาอยู่ในระดับเดียวกับขีดปริมาตรและส่วนโค้งต่ำสุดของของเหลว เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างให้สะอาด และเก็บตั้งไว้ในตู้เฉพาะ แต่ถ้ากระบอกตวงมีขนาดสูงมาก ควรวางนอนกับพื้นตู้เพื่อกันล้มแตก
วิธีอ่านปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงนั้นสามารถทำได้โดยการยกกระบอกตวงให้ตั้งตรงและให้ท้องน้ำอยู่ในระดับสายตา และอ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของท้องน้ำ
วิธีอ่านปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงนั้นสามารถทำได้โดยการยกกระบอกตวงให้ตั้งตรงและให้ท้องน้ำอยู่ในระดับสายตา
และอ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของท้องน้ำ
บิวเรท
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรต่างๆ
และมีก็อกสำหรับเปิด-ปิด เพื่อบังคับการไหลของของเหลว
บิวเรทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีขนาดตั้งแต่ 10 มล. จนถึง 100 มล.
บิวเรทสามารถวัดปริมาตรได้อย่างใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่ก็ยังมีความผิดพลาดอยู่เล็กน้อย
ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของบิวเรท
ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า conical flask ทำด้วยแก้ว มีหลายขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิลิตร ถึง 1000 มิลลิลิตร ใช้สำหรับใส่สารละลายในการทดลองไทเทรตชั่น (titration) โดยสารละลายที่ใช้ในขวดรูปชมพู่จะเรียกว่าไทแทรนด์ (titrand) ใช้คู่กับอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งคือบิวเรตต์ (burette) สารละลายที่บรรจุในบิวเรตต์จะเรียกว่าไทแทนท์ (titrant)
กรวยกรองแก้ว (glass
funnel) ใช้ในการถ่ายเทสารเคมีจากภาชนะที่มีขนาดใหญ่
ลงในภาชนะที่มีขนาดเล็ก เช่น ต้องการบรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก(HCl) ลงในบิวเรตต์ โดยการค่อยๆ เทสารละลายจากบีกเกอร์ที่มีกรดไฮโดรคลอริกอยู่
ผ่านกรวยกรองแก้ว ลงในบิวเรตต์ หรือใช้สำหรับกรอง แยกสารที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายออกจากสารละลายโดยใช้กระดาษกรองวางภายในกรวยกรอง
ค่อยๆ รินสารผสมผ่านกรวยกรองที่มีกระดาษกรองอยู่ ซึงของแข็งจะติดอยู่บนกระดาษกรอง
ส่วนสารละลายจะผ่านกระดาษกรองออกมา
กรวยแยก
(separatory funnel) ใช้สำหรับสกัดสารด้วยของเหลวออกจากของเหลว
(liquid-liquid extractions) ซึ่งส่วนประกอบของสารผสมจะถูกแยกด้วยทำละลาย
2 ชนิดที่ไม่ผสมกัน (2 เฟส)
โดยทั่วไปเฟสหนึ่งจะเป็นตัวทำละลายที่มีขั้ว และอีกเฟสหนึ่งจะเป็นตัวทำละลายอินทรีย์(ไม่มีขั้ว)
-หลอดทดลองมีหลายชนิดและหลายขนาด ชนิดที่มีปากและไม่มีปาก
ชนิดธรรมดาและชนิดทนไฟ ขนาดของหลอดทดลองระบุได้ 2 แบบคือ
ความยาวกับเส้นผ่าศูนย์กลางริมนอกหรือขนาดความจุเป็นลิตร
-หลอดทดลองส่วนมากใช้สำหรับทดลองปฎิกิริยาเคมีระหว่าง
สารต่างๆที่เป็นสารละลาย ใช้ต้มของเหลวที่มีปริมาณน้อยๆ โดยมี test tube holder จับกันร้อน
หลอดทดลองแบบทนไฟจะมีขนาดใหญ่และหนากว่าหลอดธรรมดา
ใช้สำหรับเผาสารต่างๆด้วยเปลวไฟโดยตรงในอุณหภูมิที่สูง หลอดชนิดนี้ไม่ควรใช้สำหรับทดลองปฎิกิริยาเคมระหว่างสารเหมือนหลอดธรรมดา
ขวดดูดแลน เป็นขวดสำหรับใช้งานทั่วไปในห้องทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น